มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยลัย จะทำพิธีประสาทปริญญาบัตร แด่ผู้สำเร็จการศึกษา ระดับ ปริญญาตรี โท เอก ในวันที่ 9/05/10 ที่อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศริอยุธยา

เพลงไตขืน


MusicPlaylist
Music Playlist at MixPod.com


วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติย่อเมืองเชียงตุง








นครเชียงตุงเป็นเมืองหนึ่งของรัฐฉาน สูงจากระดับน้ำทะเล 2,700 ฟุต มีพื้นที่ประมาณ 72 ตารางไมล์ มีประชากรประมาณ 247,000 คน ภูมิประเทศเป็นแอ่งก้นกระทะอยู่ระหว่างแม่น้ำสาละวินตะวันตก และแม่น้ำโขงตะวันออก

อาณาเขตทิศเหนือติดต่อกับสิงสองปันนา ในมณฑลยูนาน ทางใต้ติดต่อกับล้านนา โดยวัฒนธรรมความเป็นอยู่ นิสัยของชาวไทยเขินซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเชียงตุงมีความคล้ายคลึงกัน

เชียง ตุงได้รับสมญานามว่า เมืองแห่ง 3 จอม 9 หนอง 12 ประตู มีรายละเอียดดังนี้
เมือง แห่ง 3 จอม จอม หมายถึง เนินเขา ได้แก่
1. จอมทอง (จอมคำ) ที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมคำ
2. จอมมน ที่ตั้งของวัดพระธาตุจอมมน
3. จอมสัก ที่ตั้งของหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอีก้อ
เมืองแห่ง 9 หนอง คือ หนองน้ำ ได้แก่
1. หนองตุง 2. หนองโตง 3. หนองเย
4. หนองแล้ง 5. หนองยาง 6. หนองโปง
7. หนองเข้ 8. หนองใต้ 9. หนองตาช้าง

** แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงหนองเดียวเท่านั้นครับ คือ หนองตุง
เมือง แห่ง 12 ประตู คือ ประตูเมืองในเชียงตุง ได้แก่

1. ประตูป่าแดง 2. ประตูเชียงลาน 3. ประตูง่ามฟ้า
4. ประตูหนองผา 5. ประตูแจ่งเมือง 6. ประตูยางคำ
7. ประตูหนองเหล็ก 8. ประตูน้ำบ่ออ้อย 9. ประตูยาง
10. ประตูไก่ให้ม่าน 11. ประตูผายั้ง 12. ประตูป่าม่าน
** แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 2 ประตูครับคือ ประตูป่าแดง และประตูหนองผา
ตรา ประจำเมือง
เมืองเชียงตุงเริ่มใช้ตราประจำเมืองรูปสิงหราช ในสมัยเจ้าเจ็ดพันตูสิงหราช เป็นสัญลักษณ์แทนเจ้าเจ็ดพันตูซึ่งทรงปกครองและพัฒนาเมืองเชียงตุงจนเจริญ รุ่งเรือง
**ประชากร**
เมืองเชียงตุงมี ประชากรหลากกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ไทเขิน ไทใหญ่ ไทเหนือ ไทลื้อ ชาวจีน ชาวปะหล่อง ชาวแอ่น อาข่า อีก้อ ลาฮู ลีซอ ลัวะ ยาง ชาวว้า ฯลฯ มีไทเขินเป็นคนพื้นเมืองมากอันดับหนึ่ง ไทใหญ่เป็นอันดับสอง
เชียงตุงยุค ตำนาน

ตำนานเชียงตุงกล่าวว่า ชายเลี้ยงวัวผู้หนึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ได้แบ่งอาหารแก่ฝูงกาเสมอด้วยความเมตตา ฝูงกาหนึ่งพันตัวได้ตอบแทนบุญคุณโดยการหามตะกร้าซึ่งมีชายเลี้ยงวัวอยู่ข้าง ในไปยังเมืองประจันตคามที่เจ้าเมืองสวรรคตไปแล้ว เสนาอำมาตย์จึงแต่งตั้งให้ชายเลี้ยงวัวเป็นเจ้าเมือง เรียกขานพระนามว่า พระยากาหาม

ภายหลังได้ละเลยการให้อาหารฝูงกาตามที่เคยสัญญาไว้ คือจะให้ควายเป็นอาหารปีละ 1 ตัว ทำให้ฝูงกาโกรธแค้น จึงหลอกพระยากาหามไปปล่อยบนเกาะแห่งหนึ่ง หลังจากนั้นเมืองประจันตคามก็ถูกน้ำท่วม จนกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ ส่วนชายเลี้ยงวัวได้เกิดเป็นพระยาปูคำในหนองน้ำแห่งนั้น

ต่อมาตุง คฤาษีหรือจันทรสิบกขตุง บุตรพญาว้อง (จีน) ได้ใช้ไม้เท้าหรือไม้ขักข่ายขีดพื้นดินให้เป็นลำน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากเมืองให้ไหลย้อนกลับขึ้นไปทางทิศเหนือแล้วไหลลงสู่ทาง ใต้กลายเป็นแม่น้ำเขิน (เท่าที่ฟังจากไกด์ เขาว่าชาวบ้านจะเรียกกันว่าแม่น้ำขึน หรือแม่น้ำขืน เพราะการไหลจากใต้ขึ้นเหนือของลำน้ำค่ะ) แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้เกิดเป็นบ้านเมืองขึ้น
ชาวแข่ฮ่อ (ชาวจีน) ซึ่งติดตามตุงคฤาษี ได้อาศัยบริเวณนี้แล้วเรียกชื่อเมืองว่าเชียงตุง แต่อยู่ได้ไม่นานก็สู้โรคภัยไม่ได้จึงกลับถิ่นฐานเดิม โดยทิ้งน้ำเต้าไว้ น้ำเต้าเหล่านี้ก็แตกออกมาเป็นชาวลัวะและอาศัยเมืองนี้สืบต่อมา

เชียง ตุงมีการปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าผู้มีอำนาจสูงสุด และธรรมเนียมขัติราช จำนวน 41 พระองค์ ถึงสมัยเจ้าฟ้าพรหมลือ และสิ้นสุดในสมัยเจ้าฟ้าชายหลวง ก่อนที่จะรวมเป็นจังหวัดสหรัฐไทยเดิมของประเทศไทยในสมัย พลตรีผิน ชุณหะวัณ ส่วนการปกครองระดับรองลงมาแบ่งเป็นเงหัวสิบ บ้านบริเวณรอบนอกเมืองแบ่งเอิ่งหรือหัวร้อย (หลายหมู่บ้านรวมกัน)
เชียง ตุงยุคพระยามังราย
พงศาวดารเมืองเชียงตุงกล่าวว่า พระยามังรายประพาสป่าและไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง ทรงพอพระทัยจึงได้ส่งขุนคงและขุนลังมาชิงเมืองจากชาวลัวะ แต่ไม่สำเร็จจึงได้ส่งมังคุมและมังเคียน ซึ่งเป็นชาวลัวะมารบจึงชนะ และได้ส่งเจ้าน้ำท่วมไปปกครองเมืองเชียงตุงเมื่อ พ.ศ. 1786 ในฐานะบ้านพี่เมืองน้องกับเชียงใหม่
ครั้งเมื่อ พ.ศ. 1893 ท้าวผายู กษัตริย์เชียงใหม่ส่งโอรสคือเจ้าเจ็ดพันตูมาปกครองเมืองและพัฒนาเมืองเชียง ตุงจนเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านอาณาจักรและพุทธจักร

เชียงตุงกลับมาเป็น เมืองขึ้นของเชียงใหม่อีกครั้งในสมัยพระเจ้าติโลกราช พ.ศ.1984 รวม 46 ปี ตรงกับสมัยพระยาศรีสัทธรรมราชาจุฬามณีของเชียงตุง
ปลายอาณาจักรล้านนา พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่ายึดครองเชียงใหม่ พ.ศ.2101 สมัยพระมงกุฏ อำนาจที่เชียงใหม่มีเหนือเชียงตุงก็หมดสิ้นไป พ.ศ.2102 เจ้าท้าวคำฟูของเชียงตุงได้เจริญสัมพันธไมตรีกับพม่า โดยส่งทูตไปเมืองหงสาวดี ทางพม่ามีความพอใจจึงได้มอบคัมภีร์พระไตรปิฎกมาไว้ที่เชียงตุง

เชียง ตุงยุคเป็นประเทศราชของพม่า

พ.ศ.2107 เชียงตุงแสดงการยอมรับอำนาจพม่าอย่างเป็นทางการในสมัย พระยาแก้วภูมินทร์ แต่เชียงตุงก็มีอำนาจปกครองตนเองอย่างเต็มที่ เชียงตุงเป็นเมืองขึ้นพม่ายาวนานถึง 200 ปี

ต่อมาพระยาการวิละกอบกู้ เมืองเชียงใหม่จากพม่าได้ก็ยกทัพไปตีเมืองต่างๆ ริมฝั่งแม่น้ำสาละวินรวมถึงเมืองเชียงตุง แล้วกวาดต้อนชาวไทเขินมาตั้งถิ่นฐานตามแหล่งต่างๆ ในเชียงใหม่ เช่น บ้านสันทรายมูล ถนนวัวสาย อ.สันกำแพง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

พ.ศ.2354 เจ้ามหาขนาน ซึ่งตั้งตัวอิสระอยู่ที่เมืองยางไม่สามารถต้านทัพพม่าได้ จึงรับข้อเสนอของพม่าที่จะให้พระองค์เป็นเจ้าฟ้าครองเมืองเชียงตุงในฐานะ ประเทศราชของพม่าในปี พ.ศ.2356

เชียงตุง เมืองลา ภายใต้การปกครองของรัฐบาลไทย

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยลงนามสนธิสัญญาพันธมิตร ทำให้ต้องประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา กองทัพไทยภายใต้การนำของพลตรีผิน ชุณหะวัณ รับหน้าที่ตีเมืองเชียงตุง และสามารถตีเมืองเชียงตุงได้เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2485 โดยให้เชียงตุงเป็นจังหวัดสหรัฐไทยเดิม แล้วได้ทูลเชิญเจ้าเมืองเหล็กพรหมลือ โอรสเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงกับเจ้าแม่ปทุมาเทวีขึ้นมาปกครองเชียงตุง แล้วให้พลตรีผิณ ชุณหะวัณ เป็นข้าหลวงใหญ่สหรัฐไทยเดิม เพื่อดูแลความสงบตั้งแต่ปี พ.ศ.2486 - 2488 รวม 3 ปี มีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยและสถานกงศุลไทยอยู่ในเมืองเชียงตุง

เชียง ตุงยุคปัจจุบัน
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ไทยต้องคืนเชียงตุงให้แก่สหประชาชาติ และอังกฤษเข้าไปมีบทบาทต่อพม่าและเชียงตุง พ.ศ.2505 นายพลเนวิน ผู้นำของพม่าได้ทำการรัฐประหารยกเลิกระบบเจ้าฟ้า แล้วจับกุมเจ้าฟ้าหลวงกษัตริย์เมืองเชียงตุง และเจ้าฟ้าองค์อื่นๆ มาคุมขัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสถาบันเจ้าฟ้าไทในรัฐฉานสิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิง

หอ หลวงหรือหอคำซึ่งเปรียบเหมือนพระราชวังของเจ้าฟ้าต่างๆ ที่มีศิลปะเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติไท และ

หอคำของเจ้าฟ้าก้อนแก้วอิน แถลงผู้ครองเมืองเชียงตุงสร้างตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมของอังกฤษเมื่อ 100
กว่า ปีก็ถูกทุบทิ้งด้วย ซึ่งขณะนั้นหอคำฯ มีอายุ 97 ปี ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการใช้สถานที่สร้างโรงแรมเพื่อพัฒนาเมืองเชียงตุงให้ ประชาชนมีรายได้และมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แล้วใช้ระบบสังคมนิยมปกครองเมืองเชียงตุง

ต่อมาเชียงตุงก็ถูกสั่งปิด ประเทศในปี พ.ศ.2506

เมืองเชียงตุงเป็นเมืองพุทธศาสนา ได้รับสมญานามว่าเมืองร้อยวัด เฉพาะในตัวเมืองมีอยู่ 44 วัด (วัดไทยเขิน 33 วัด) วัดม่าน 1 วัด (วัดพม่า) วัดไท 10 วัด (วัดไทใหญ่ผสมพม่า) ซึ่งมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่งดงามจากการผสมผสานศิลปะล้านนา ไทรัฐฉาน และพม่าไว้ด้วยกัน เช่น วัดพระธาตุจอมคำ, วัดพระแก้ว, วัดมหาเมี๊ยะมุณี, วัดหัวข่วง, วัดป่าแดง, วัดเชียงยืน ฯลฯ

อาชีพของ ชาวเชียงตุงยังคงยึดการทำนา ปั้นหม้อ ทำมีด เครื่องเงิน เครื่องเขิน การทอผ้า และอาชีพรับราชการยังเป็นที่ปรารถนาเป็นอันแรกเพราะถือว่ามีเกียรติแม้ว่าจะ ได้เงินเดือนน้อยก็ตาม

ส่วนวัฒนธรรมประเพณีนั้น ชาวเชียงตุงมีความเชื่อว่า การร่วมศาสนกิจในแบบพิธีกรรมต่างๆ จะนำมาซึ่งสวัสดิมงคลทั้งส่วนตัวและครอบครัว ความเชื่อนี้นำไปสู่การร่วมพิธีกรรมทางศาสนาอย่างพร้อมเพรียงกัน

**พระ ภิกษุสามเณรน้อยที่เข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีเป็นจำนวนมาก เมื่อจบแล้วก็จะนำความรู้ที่ได้ศึกษาไปพัฒนาบ้านเกิดของแต่ละรูป ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป บางรูปก็พาเจ้าอาวาสที่ท่านมาขออาศัยศึกษาไปร่วมทำบุญทอดผ้าป่าสร้างวัดให้ ก็มีเยอะ เพราะพระภิกษุสามเณรเชียงตุงมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมีความซื่อสัตย์เอาใจใส่ ดูแลเจ้าอาวาสเก่ง จึงได้รับความเอ็นดูเมตตาจากท่าน**
**สามเณรตัวน้อย ๆ ที่เชียงตุงมีเยอะมาก เพราะมีธรรมเนียมว่า เมื่ออายุครบ 10 ปี เด็กผู้ชายจะต้องบวชเป็นสามเณรทุกคน อีกอย่างหนึ่งเพราะได้รับการศึกษาที่ดีก่วา ส่วนมากจะบวชนานอย่างน้อยก็10 ปี 20 ปี บางรูปก็บวชเรียนตลอดชีวิตเลย เพราะจะทำให้พ่อแม่ได้บุญมาก **
*การศึกษาทางโลกตอนนี้เชียงตุงมีถึงระดับอุดมศึกษาแล้วไม่ต้องเสียเวลาไป เรียนต่อถึงย่างกุ้งมัณฑเลเหมือนแต่ก่อนแล้ว.


(เมืองเชียงตุงมีหนองตุงกว้างใหญ่ อยู่ไว้ในท่ามกลางเวียง มีทั้ง 3 จ๋อม 7 เชียง 9หนอง 12 ประตูเวียง )
เขมรัฐนครเชียงตุง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น